-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อผู้แต่ง: ศ.ดร.นายแพทย์วิทยา นาควัชระ.
ชื่อหนังสือ: นี่แหละ...คนเหนือคน.
ชื่อหนังสือ: นี่แหละ...คนเหนือคน.
สถานที่พิมพ์: กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์: GOODBOOK ในเครือสถาบันพัฒนาตนเอง และนักบริหาร
พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2547. พิมพ์ครั้งที่สอง พฤศจิกายน 2547. พิมพ์ครั้งที่สาม พฤษภาคม 2548. 164 หน้า
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คนเหนือคนนั้น หมายถึงคนที่มีความคิดที่เหมาะสม ถูกต้อง อยู่ที่ไหนก็มีประโยชน์ที่นั่น
สังเกตเห็นได้ชัด มีไม่มาก มีความพิเศษมากกว่าคนอื่น ช่วยตัวเองได้ ช่วยคนอื่นได้
มีความคิดที่กว้างไกล มีการกระทำสิ่งที่สร้างสรรค์เสมอ
คนเรา...เกิดมาเป็นคนเหมือนกันและไม่เท่าเทียมกัน แต่ถ้าได้รับการปรุงแต่งโดยสิ่งแวดล้อม
หรือการแนะนำที่ดี จะพัฒนากลายเป็นคนพิเศษได้
ผู้ชนะ
การเอาชนะไม่ได้หมายความว่า จะต้องโกงหรือเอาเปรียบคนอื่นๆเสมอไป
ต่อไปนี้เป็นวิธีที่จะทำให้ท่านสามารถ "ชนะ" คนอื่นๆได้ด้วยวิธีที่สร้างสรรค์ เช่น
1.จงช่วยให้คนอื่นดีขึ้น ด้วยการที่ท่านเป็นคนดี ความดีของเราจะชนะใจคนอื่นๆ เขาจะรู้สึกเป็นมิตร อบอุ่น อยากคบหา อยากเชื่อถือ เพราะเกิดศรัทธาในตัวท่าน
ถ้าพบคนใกล้ตัวที่เป็นคนไม่ดีมากเท่าไร ลองพยายามทำตัวให้เป็นคนดีให้มากขึ้นซิ โดยเฉพาะทำดีกับคนที่ไม่ดี เขาจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีได้มากขึ้นแน่ๆ เท่ากับเป็นการช่วยเหลือเขา
2. เป็นคนที่ลงมือทำเสมอ ไม่ใช่ดีแต่คิดหรือดีแต่พูด
สิ่งที่ดีที่สุดของมนุษย์คือ การลงมือทำ เพราะจะได้ผลงานและได้ประสบการณ์
3. อย่ารักอิสระมากนัก จะเข้ากับผู้คนลำบาก คนจะไม่ให้ความร่วมมือเพราะขาดมนุษยสัมพันธ์
4. หัดรักตัวเองให้เป็น และรักไว้เสมอ เมื่อไรที่ไม่รักตัวเอง จะรู้สึกเหมือนไร้ทิศทางในการดำเนินชีวิต และจะรักคนอื่นได้ยาก
เชคสเปียร์เคยบอกไว้ว่า "การรักตัวเองมิได้เลวร้ายและเป็นบาปเท่าการละเลยตัวเอง"
5. อดทนต่อความคิดเห็นที่ขัดแย้งไม่เหมือนกันได้ ถ้าใครคิดไม่เหมือนเรา จงรับฟัง อย่าโกรธ คิดเสียว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดกัน
ถ้าคิดอย่างนี้ได้ จะทำให้เราอดทนต่อความคิดเห็นของคนอื่นที่ไม่เหมือนกันได้เสมอ
6. รู้จักทำตัวให้คนศรัทธา โดยการรู้จักพูดหรือวางตัวให้เขาศรัทธา การจะพูดให้คนศรัทธาได้นั้น ต้องพูดให้เขาเห็นประโยชน์ที่เขาควรจะได้รับมากที่สุด และเขาค่อนข้างจนมุม เราจะชนะใจเขา เขาจะเชื่อ และศรัทธาเราได้
7. มีวิจารณญาณ คือมีความฉลาดในการเลือก รู้ว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควร ทั้งการคิด การพูด
หรือการกระทำ
วิธีคิดเมื่อต้องเป็นผู้แพ้
1. รับความจริง อาจจะเจ็บปวดบ้างในการจะต้องรับความจริงว่าเราเป็นผู้แพ้
แต่เมื่อทำเต็มที่แล้ว แพ้ก็แพ้ซิ จงรับความจริงให้ได้
ความล้มเหลวหรือการเป็นผู้แพ้ ไม่ใช่สิ่งเลวร้ายที่สุดในโลก สิ่งที่เลวร้ายที่สุดก็คือ การไม่ได้พยายามต่อไปต่างหาก
ฉะนั้น เราต้องพยายามใหม่ !
2. มองโลกในแง่ดี
แม้จะล้มเหลวหรือเป็นผู้แพ้แล้วก็ต้องฝึกการมองโลกในแง่ดีให้ได้
รู้ไหมว่า...โอกาสมักจะมาในรูปแบบของโชคร้าย หรือความพ่ายแพ้ตอนต้นๆ ต่อไปจะกลายเป็นโอกาสทอง ซึ่งพบได้มากมาย
และ...โอกาสมักแฝงเร้นอยู่ในงานหนัก คนส่วนใหญ่มักมองไม่เห็น เมื่อผ่านอุปสรรคของความรู้สึกแพ้ ซึ่งเป็นงานหนักไปแล้ว โอกาสทองจะตามมาหลังจากงานหนักนี้ผ่านไป
คนที่ประสบความสำเร็จอันยิ่งใหญ่มักล้มเหลวมาก่อนทั้งนั้น แต่เขาจะเป็นนักฝันที่ยิ่งใหญ่ด้วย เราจึงต้องฝันต่อไป มองโลกในแง่ดีต่อไป
3. มีอารมณ์ขัน อย่างจริงจังกับชีวิตนัก ทุกอย่างมีขึ้นและมีลง มีทุกข์สุขสลับกันไป ซึ่งเป็นเรื่องของอนิจจัง อนัตตา ซึ่งเป็นหลักความจริงของโลกและชีวิต ต้องยอมรับให้ได้ การจริงจังกับชีวิตมากไป จะทำให้ขาดอารมณ์ขัน กลายเป็นความเครียด
4. ปรับตัวเข้าหาความเป็นสากลได้ดี
ควรจะเป็นผู้ขยัน อดทน หมั่นหาความรู้ใส่ตัว และกล้าลงมือทำสิ่งใหม่ได้อีกเสมอ
อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องปรับตัวให้มีให้ได้ก็คือ
การมีคุณธรรม...
ได้แก่ กตัญญู กตเวที เสียสละ รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ รักเพื่อนมนุษย์
คุณธรรมหรือความดีนี้ จะทำให้คนสรรเสริญ และพร้อมจะช่วยเหลือต่อไป
อย่าสูญเสียกำลังใจและความกระตือรือร้น เพราะนั่นเป็นการล้มละลายที่หนักที่สุด
อย่ากลัวที่จะกล้าลงมือใหม่ จงเอาชนะความกลัวให้ได้ ความกลัวเป็นอุปสรรคที่สำคัญ
จงตั้งจุดมุ่งหมายเอาไว้ แล้วดำเนินไปตามจุดมุ่งหมายนั้น ทำได้แค่ไหนก็แค่นั้น
บอกกับตัวเองว่าคุณเป็นคนเก่งมาก...ดีมากแล้ว ความสุขและกำลังใจจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่คุณลงมือทำและคิด
กรรม ต้องชดใช้ กำไร ต้องแบ่งปัน
มนุษย์ทุกคนมีกรรมติดตัวมาทั้งนั้นเพราะต่างเคยทำสิ่งไม่ดีมาแล้วในอดีต ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว มากน้อยต่างกัน เราจะต้องรับผลของกรรมนั้น หรือต้องชดใช้กรรมเหล่านั้น คนอื่นจะรับแทนเราก็ไม่ได้ คือต้องมีความทุกข์กาย ทุกข์ใจ ทุกข์ทางสังคม หรือทุกข์ทางเศรษฐกิจมากน้อยแตกต่างกัน
ถ้าเราเชื่อเรื่องกรรม จะทำให้เราทำผิดน้อยลง เพราะเกรงผลของกรรมและเวร เราจะทำดีมากขึ้น เพราะต้องการผลดีของกรรมดี
ความเชื่อเรื่องกรรมนี้ เป็นความเชื่อที่สร้างสรรค์ ทำให้ชีวิตเจริญขึ้น สังคมปกติสุขมากขึ้น
และเมื่อเรามีความปกติสุขมากขึ้น แสดงว่าเราเริ่มมีกำไรชีวิตแล้ว อย่าลืมแบ่งปันความสุขไปให้คนอื่นด้วย
เพราะการแบ่งปันความสุขไปให้คนอื่น เป็นการทำกรรมดี จะทำให้เราสุขขึ้นอีกเป็น 2 เท่า
และการช่วยแบ่งทุกข์จากคนอื่น จะทำให้เราทุกข์น้อยลง 2 เท่าเช่นกัน
พลังของความตั้งใจ
เมื่อคนเรา "ตั้งใจ" จะทำอะไรแล้ว จะรู้จัก "เลือก" ทำสิ่งที่เหมาะสม
เช่น ถ้าตั้งใจจะมีชีวิตอยู่ ก็จะรู็จักเลือกกิจกรรมที่ทำให้ชีวิตเป็นปกคิสุขข เช่น รู้จักเลือกกิน เลือกพูด เลือกออกกำลังกาย เลือกคิด เลือกคบเพื่อน เลือกทำและเลือกไม่ทำกิจกรรมบางอย่างการรู้จักเลือก ทำให้เราไม่เสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ การกระทำทุกอย่างจะมีเป้าหมาย มีทิศทางและวิธีที่จะไปสู่เป้าหมายมากขึ้น มองตัวเอง มองคนอื่น และมองกิจกรรมที่จะทำมีค่าทั้งนั้น ทุกแคลอรี่ที่สูญเสียไปเพื่อสิ่งที่เราได้เลือกทำกิจกรรมที่เหมาะสมที่สุดแล้ว จึงเป็นการประหยัดพลังงาน
ทำให้เหลือพลังงานที่ประหยัดไว้เพื่อทำกิจกรรมอื่นๆได้อีก ไม่เกิดพลังงานที่สูญเสีย เปล่าประโยชน์
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสอดคล้อง 9 ข้อที่พ่อสอนไว้ "นิสัยแห่งความดี"
ด้านต่างๆ ดังนี้
1. ความเพียร
ถึงแม้จะล้มเหลวสักกี่ครั้ง แต่ถ้าพยายามใหม่ สักวันจะประสบผลสำเร็จ
2. ความพอดี
อย่าจริงจังกับชีวิตมากเกินไป ทุกอย่างมีขึ้นและมีลง มีทุกข์สุขสลับกันไป ต้องยอมรับให้ได้
3. ความรู้ตน
ทัศนคติที่ดี ความเชื่อที่สร้างสรรค์ จะทำให้มองข้ามข้อเท็จจริงและข้อมูล
และสามารถจูงใจตัวเองให้ทำในสิ่งที่สร้างสรรค์ได้
4. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้
ถ้าพบคนใกล้ตัวที่เป็นคนไม่ดีมากเท่าไร ลองพยายามทำตัวให้เป็นคนดีให้มากขึ้น ช่วยให้คนอื่นดีขึ้น โดยเฉพาะทำดีกับคนที่ไม่ดี เขาจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีได้มากขึ้นแน่ๆ
เท่ากับเป็นการช่วยเหลือเขา
5. อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ
หากจะลงมือทำสิ่งใดใหม่ ให้ตั้งจุดมุ่งหมายเอาไว้ แล้วดำเนินไปตามจุดมุ่งหมายนั้น
ทำได้แค่ไหนก็แค่นั้น
ทำได้แค่ไหนก็แค่นั้น
6. พูดจริงทำจริง
เช่น การลงมือทำทันที ไม่ดีแต่คิดหรือพูด
7. หนังสือเป็นออมสิน
เช่น หากมีเพื่อนมีข้อสงสัย เราอาจช่วยเพื่อนได้โดยการร่วมหาคำตอบจากหนังสือ
8. ความซื่อสัตย์
เช่น ทำงานโดยสุจริต ยุติธรรม มีเมตตาเพื่อนมนุษย์
9. การเอาชนะใจตน
อย่ากลัวที่จะกล้าลงมือใหม่ จงเอาชนะความกลัวให้ได้
ทำให้ใช้ชีวิตอย่างมีสติ
ตอบลบ