-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ
ว. วชิรเมธี.
รื่นรมย์ในงาน เบิกบานในชีวิต.-- นนทบุรี: สัปปายะ, ๒๕๕๗. ๑๙๒ หน้า.
๑. ธรรมะกับชีวิตประจำวัน. I. เฉลิมพล รัตนโกมลวัฒน์, ผู้วาดภาพประกอบ. II. ชื่อเรื่อง. 294.3144
ISBN 978-616-91100-1-9
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระพุทธองค์ทรงแนะนำว่า ถ้าคนทำงานต้องการความสุข
อันดับแรก ต้องหางานที่รักให้พบ ถ้าหางานที่รักพบ รับรองว่า ความสุขจะอยู่กับเราทุกวัน
ทุกหนทุกแห่งที่เราไปทำงาน ความสุขนั้นจะเคลื่อนตัวไปพร้อมๆกับเรา
แล้วเราจะกลายเป็นหน่วยความสุขเคลื่อนที่ เพราะเราได้ค้นพบงานอันเป็นที่รัก
การทำงานจึงกลายเป็นการใช้ชีวิตไปโดยปริยายทุกวัน ไม่ว่าจะทำงานหรือไม่ทำงาน ก็มีความสุข
งานหนักสร้างคน
ครั้งหนึ่งสมัยที่ อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินรุ่นน้อง ยังไม่มีชื่อเสียง
ด้วยความอยากรู้ว่ารุ่นพี่มืออาชีพแค่ไหน จึงเดินทางไปเยี่ยมอาจารย์ถวัลย์ถึงบ้าน และขอเดินชมผลงาน ซึ่งมีโชว์ไว้น้อยมาก เมื่อเทียบกับอาจารย์เฉลิมชัยแล้ว ที่บ้านจะมีผลงานวางเรียงรายจนนับไม่ถ้วน
ด้วยเหตุนี้ทำให้อาจารย์เฉลิมชัยสงสัย "พี่ ผมทำงานหนักมาก ผมวาดรูปทุกวัน มีภาพเป็นตั้งๆ
ผมอยากรู้ว่าพี่กับผม ใครขยันกว่ากัน"
อาจารย์ถวัลย์ไม่พูดพร่ำทำเพลง บอกเพียงแต่ว่า "ตามพี่มา" จากนั้นก็พารุ่นน้องเดินเข้าไป
ในห้องวาดรูป ก่อนจะเปิดให้เห็นผลงานที่วาดเสร็จแล้ว ซึ่งวาดซ้อนกันตั้งแต่พื้นจรดเพดาน
"พี่วาดรูปทุกวัน วาดเหมือนเป็นลมหายใจเข้า-ออก และนี่คือส่วนหนึ่งที่พี่วาด" อาจารย์ถวัลย์บอก
อาจารย์เฉลิมชัยมองผลงานของรุ่นพี่พลางพูดว่า "พี่ครับ ผมรู้แล้วว่าใครขยัน
และรู้เลยว่าตัวเองยังไม่ใช่มืออาชีพพอ"
ปัญหาสร้างปัญญา
นอกจากปัญหาจะเป็นบทเรียนที่สร้างปัญญาได้อย่างวิเศษแล้ว ปัญหายังเป็นแบบฝึกหัด
ที่ช่วยให้เกิดทักษะในการดำเนินชีวิต เพียงแต่เราอย่าหลับตาให้ความทุกข์
ต้องลืมตาให้ความทุกข์ แล้วเรียนรู้จากความทุกข์นั้นจนเกิดทักษะในการดำเนินชีวิต
ทีนี้ก็ไม่ต้องกลัวอะไรทั้งสิ้น
ลูกศิษย์ผู้เขียนคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า เธอเคยเสียลูกชายคนแรกไปด้วยวัยไม่ถึง 4 วัน
การสูญเสียลูกคนแรกทำให้เธอทุกข์มาก ถึงขั้นไม่ยอมไปงานศพลูก จนกระทั่งวันเผา
ระหว่างที่เธอเอาแต่นั่งร้องไห้ ไม่มีแรงแม้แต่จะหยิบดอกไม้จันทน์ไปวางบนเมรุ
หลวงพ่อรูปหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เทศน์ในานศพก็เดินมาหาและถามว่า "โยมไม่ขึ้นไปวางดอกไม้จันทน์หรือ"
"หนูขึ้นไปไม่ไหวหรอกค่ะ ความทุกข์มันทับหนูจนลุกไม่ขึ้น"
หลวงพ่อบอกว่า "โยม ชีวิตคนเรานี้เกิดมาต้องเรียนรู้นะ และบทเรียนที่ต้องเรียนรู้
มี 2 บทเรียน คือหนึ่ง บทเรียนที่แสนยาก และสอง บทเรียนที่แสนง่าย
มนุษย์ส่วนมากจะชอบบทเรียนง่ายๆ แต่บทเรียนยากๆมักจะหลับตาแล้วไม่อยากเรียน
แต่อาตมาจะบอกให้ ถ้าอาตมาเป็นโยมนะ
ตอนนี้บทเรียนที่แสนยากมาวางอยู่ตรงหน้าโยมแล้วพลัดพรากจากคนรักและของรัก"
หลวงพ่อบอกว่า "โยม ชีวิตคนเรานี้เกิดมาต้องเรียนรู้นะ และบทเรียนที่ต้องเรียนรู้
มี 2 บทเรียน คือหนึ่ง บทเรียนที่แสนยาก และสอง บทเรียนที่แสนง่าย
มนุษย์ส่วนมากจะชอบบทเรียนง่ายๆ แต่บทเรียนยากๆมักจะหลับตาแล้วไม่อยากเรียน
แต่อาตมาจะบอกให้ ถ้าอาตมาเป็นโยมนะ
ตอนนี้บทเรียนที่แสนยากมาวางอยู่ตรงหน้าโยมแล้วพลัดพรากจากคนรักและของรัก"
เธอจึงได้สติลุกขึ้นปาดน้ำตาและเดินขึ้นไปวางดอกไม้จันทน์ พอวางเสร็จก็ขับรถออกจากงานเลย
วันรุ่งขึ้นเธอไปทำงานได้ตามปกติ เธอบอกกับผู้เขียนว่า "วันนั้นลูกหนูตาย แต่หนูได้ชีวิตใหม่"
การได้ชีวิตใหม่ หมายถึง ได้บทเรียนแห่งชีวิต ถ้าเราเจอบทเรียนหนักๆแล้วไม่ยอมเรียน
1. ความเพียร
กว่าอาจารย์ถวัลย์จะเป็นมืออาชีพได้ ท่านได้วาดรูปทุกวัน จนผลงานของท่านมีราคาสูงที่สุดในประเทศไทย
2. ความพอดี
แม้ท่านพุทธทาสจะเป็นเจ้าอาวาส จะสั่งอะไรก็ได้ แต่ท่านเลือกที่จะไม่ทำ เพราะท่านคำนึงถึงหัวจิตหัวใจของคน
3. ความรู้ตน
การที่สตีฟ จอบส์ นำวิชาที่ได้เรียนมา ไปปรับใช้ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานของเขา จนเป็นที่ยอมรับ
4. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้
การที่ดาบวิชัย ได้ปลูกต้นไม้กว่าสองล้านต้นเพื่อสร้างผืนป่าให้แผ่นดินไทย
5. อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ
ในครั้งหนึ่ง ลูกศิษย์ของผู้เขียนได้เล่าว่า เธอสูญเสียลูกคนแรกและเป็นทุกข์มาก แต่เพราะได้คำสอนของหลวงพ่อ เธอจึงได้สติและกลายเป็นคนใหม่
6. พูดจริงทำจริง
สตีฟ จอบส์ มีปรัชญาการทำงานอยู่ว่า "ไม่ว่าจะทำงานอะไรก็ตาม จะต้องทำงานนั้นให้ดีที่สุด" และเขาก็สามารถออกแบบนวัตกรรมให้มีความเป็นเลิศทั้งในทางรูปลักษณ์และประโยชน์ใช้สอย
7. หนังสือเป็นออมสิน
การที่ท่านพุทธทาส นำปฏิทินที่ดูจนหมดปีแล้ว กลับมาใช้เป็นสมุดบันทึก จนกลายเป็นหนังสือ "บันทึกนึกได้เอง"
8. ความซื่อสัตย์
การที่ท่านศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต ถึงแม้จะมีโอกาสโกง แต่ท่านก็ไม่โกง
9. การเอาชนะใจตน
ถึงแม้สตีฟ จอบส์ จะโดนไล่ออกจากบริษัทที่เขาก่อตั้งมากับมือ แต่เขาก็ไม่ยอมแพ้ และไม่รีรอที่จะตั้งบริษัทใหม่ทันที
การได้ชีวิตใหม่ หมายถึง ได้บทเรียนแห่งชีวิต ถ้าเราเจอบทเรียนหนักๆแล้วไม่ยอมเรียน
เราจะไม่มีภูมิคุ้มกันชีวิต แต่ถ้าเราตัดสินใจเรียน เราก็จะก้าวผ่านมันไปได้ในที่สุด
เวลาเจอทุกข์หนักๆ ถ้าเราถอยให้ความทุกข์ ความทุกข์ก็จะมาเรื่อยๆ
แต่ถ้าเราเดินเข้าไป ความทุกข์ก็จะให้สาระในการดำเนินชีวิตแก่เรา
ไม่มีงานไหนเป็นงานต่ำ ถ้าเราทำด้วยใจสูง
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสอดคล้อง 9 ข้อที่พ่อสอนไว้ "นิสัยแห่งความดี"ด้านต่างๆ ดังนี้ เวลาเจอทุกข์หนักๆ ถ้าเราถอยให้ความทุกข์ ความทุกข์ก็จะมาเรื่อยๆ
แต่ถ้าเราเดินเข้าไป ความทุกข์ก็จะให้สาระในการดำเนินชีวิตแก่เรา
ไม่มีงานไหนเป็นงานต่ำ ถ้าเราทำด้วยใจสูง
ไม่ว่าจะทำงานใดก็ตาม หากทำด้วยใจที่สูงส่ง งานนั้นย่อมเป็นงานที่มีเกียรติได้เสมอ
บทพิสูจน์ที่บ่งชัดว่า เกียรติของงานไม่ได้อยู่ที่ความสูงของตึก หรือตำแหน่งหน้าที่
แต่อยู่ที่ว่าเราทำงานด้วยจิตใจสภาพแบบไหน
ต่อจากนี้ไป ไม่ว่าเราจะทำงานส่วนใด ขอแค่ทำให้ดีที่สุด เพื่อเป็นเกียรติภูมิของเรา
ไม่ว่าจะมีคนเห็นหรือไม่เห็นก็ตาม เพราะเกียรติภูมิที่แท้จริงคือ เกียรติภูมิที่ไม่ต้องรอให้คนอื่นมาเห็น
แต่เป็นเกียรติภูมิที่เกิดขึ้นอย่างงดงามในใจเรา ซึ่งเราสัมผัสได้แล้วไม่อายใครๆในโลก
ดังจะเห็นได้จากร้อยตำรวจตรีวิชัย สุริยุทธ หรือที่รู้จักกันในนาม ดาบวิชัย
นักสู้ผู้สร้างป่าให้ผืนแผ่นดินไทยกว่าสองล้านต้น
เขาเริ่มจากปลูกต้นไม้สองร้อยต้นก่อน เขาไม่เคยย่อท้อ ปลูกต่อไปเป็นห้าร้อยต้น จนครบสองล้านต้น
นี่เป็นตัวอย่างของงานเล็กๆ ที่สร้างความภาคภูมิใจให้ตัวเอง แม้ผู้อื่นจะไม่เห็นก็ตาม
ท่านพุทธทาสเป็นคนละเมียดละไมกับทุกเรื่อง เก็บทุกเม็ด ซึ่งได้รับการถ่ายทอดนิสัยนี้มาจากมารดาของท่านเอง แม้แต่ "ปฏิทิน" ที่ญาติโยมนำมาถวาย เมื่อดูจนหมดปีแล้ว ท่านก็ไม่ทิ้ง
ยังนำกลับมาใช้เป็นสมุดบันทึกข้อความต่างๆ จนกลายเป็นหนังสือ "บันทึกนึกได้เอง" ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีคนค้นพบงานเขียนสำคัญๆของท่านตามเศษกระดาษ ซองจดหมาย
ซองปัจจัยที่ญาติโยมนำมาทำบุญ ซึ่งสามารถรวบรวมเป็นหนังสือเล่มโตได้ถึง 3 เล่ม
ภายใต้ชื่อ "พุทธทาสลิขิต"
นอกจากนี้ใครที่เคยร่วมงานกับท่านพุทธทาสจะรู้ดีว่า ท่านเป็นคนใจกว้างเหมือนแม่น้ำ
ครั้งหนึ่งท่านกับพระลูกศิษย์รวบรวมงานจากพระไตรปิฎก โดยให้พระลูกศิษย์ช่วยแปลความออกมา เมื่อลูกศิษย์นำงานที่แปลมาส่ง ท่านอ่านแล้วรู้แน่ว่าชาวบ้านคงอ่านไม่รู้เรื่อง
จึงเรียกพระลูกศิษย์มาแก้ไข
แลกเปลี่ยนความคิดกันอยู่นาน ในที่สุดก็ได้งานชิ้นเยี่ยมในชื่อว่า "พุทธประวัติจากพระโอษฐ์"
ที่น่าสังเกตคือ ยอดคนอย่างท่านพุทธทาสนั้น เปิดโอกาสให้คนอื่นโต้แย้งได้
ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ท่านไม่เผด็จการทางวิชาการ
ซึ่งถือเป็นหลักทำงานของท่านพุทธทาส ประการที่ 2 คือ ทำงานด้วยจิตสำนึกประชาธิปไตย
ทำให้ได้ทั้งงาน ได้ทั้งคน ไม่ใช่ที่พวกที่สำเร็จทุกงาน แต่รำคาญกันทุกคน
นวัตกรรมที่สร้างสรรค์โดยสติปัญญาของสตีฟ จอบส์ และวิศวกรแห่งบริษัทแอปเปิลนั้น
มักได้รับการยกย่องว่า มีความสวยงามและทรงประสิทธิภาพยิ่ง
การที่เขาสามารถออกแบบนวัตกรรมให้มีความเป็นเลิศทั้งในทางรูปลักษณ์
และประโยชน์ใช้สอยได้เช่นนี้ ก็เพราะเขามีปรัชญาการทำงานอยู่ว่า
"ไม่ว่าจะทำงานอะไรก็ตาม จะต้องทำงานนั้นให้ดีที่สุด"
ปรัชญาการทำงานเช่นนี้ สตีฟ จอบส์ ได้รับการปลูกฝังมาจากพ่อของเขา
รวมทั้งจากการลองผิดลองถูกด้วยตัวเขาเองในโลกของการทำงานและการทำธุรกิจ
ทุกหนทุกแห่งที่เราไปทำงาน ความสุขนั้นจะเคลื่อนตัวไปพร้อมๆกับเรา
แล้วเราจะกลายเป็นหน่วยความสุขเคลื่อนที่ เพราะเราได้ค้นพบงานอันเป็นที่รัก
การทำงานจึงกลายเป็นการใช้ชีวิตไปโดยปริยาย ทุกวันไม่ว่าจะทำงานหรือไม่ทำงาน ก็มีความสุข
เช่นเดียวกับ สตีฟ จอบส์ (Steve Jobs) ผู้บริหารระดับสูงของแอปเปิลคอมพิวเตอร์
บุคคลชั้นนำในวงการอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ในวันที่เขาลาออกจากมหาวิทยาลัยเป็นครั้งที่สอง
เขาไม่รู้เลยว่าชีวิตหลังจากนั้นจะเกิดอะไรขึ้น
กระทั่งวันหนึ่งเขาเดินผ่านห้องห้องหนึ่งซึ่งกำลังเรียนวิชา "ศิลปะการคัดตัวหนังสือ"
หรือในปัจจุบันก็คือ "การออกแบบตัวอักษร" (Font) เขาก็ลองเข้าไปนั่งเรียน
ทั้งๆที่ทราบดีว่าวิชานี้ไม่มีการเช็กชื่อ ไม่มีการลงทะเบียน ไม่มีหน่วยกิต ไม่มีดีกรี ไม่มีประกาศนียบัตร จนกระทั่งจบคอร์ส เพื่อนคนหนึ่งก็ถามว่า
"แกเรียนอะไรมา"
สตีฟ จอบส์ ตอบ "ศิลปะการคัดตัวหนังสือ"
เพื่อนสงสัย "แกไปคัดทำไม แล้วจะไปทำมาหากินอะไร"
เขาตอบห้วนๆ "ไม่รู้"
เพื่อนถามต่อ "ได้เกรดเท่าไหร่"
"ไม่มี"
เพื่อนยิงคำถามอีก "ประกาศนียบัตรล่ะ"
"เขาไม่ออกให้" เขาตอบ
"อ้าว! แล้วเรียนไปทำไม"
คำตอบต่อคำถามนั้นก็คือ ความสุขในทุกๆครั้งที่เขาได้ไปนั่งเรียน
หลายปีต่อมา หลังจากเขาได้ก่อตั้งบริษัทแอปเปิล และพาบริษัทไปจนถึงจุดสูงสุด
เขาถูกคณะกรรมการบริษัทโหวตให้ออกจากบริษัทที่เขาก่อตั้งมากับมือ
เขาเดินลงจากตึกในสภาพฟูมฟายไม่เป็นผู้เป็นคน
หลังเตะฝุ่นอยู่พักใหญ่ เขาก็คิดขึ้นได้ว่า เขาแค่ถูกบริษัทไล่ออก
แต่บริษัทไม่ได้ไล่ความสามารถออกจากสมองเขา
จึงไม่รีรอไปจดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่ชื่อ "เน็กซ์" (NeXT)
ผลิตคอมพิวเตอร์สำหรับลูกค้าระดับบนเท่านั้น เพราะของแพงมาก
แม้จะยังขายไม่ดีนัก แต่บริษัทแอปเปิลนั้นสุดแสนประหวั่นพรั่นพรึง
เพราะรู้สึกว่าตัวเอง ปล่อยเสือเข้าป่าครั้งนี้อันตรายมาก
ในที่สุดก็ต้องเชิญเขากลับมาบริหารและควบรวมกิจการทั้งหมด
สตีฟ จอบส์ กลับเข้ามาในฐานะผู้บริหารเหมือนเดิม
งานแรกที่ทำคือ ปลดซีอีโอที่เคยไล่เขาออกจากบริษัท และพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเองใหม่
นั่งแท่นบริหารงานทั้งหมดเอง เพราะเขารู้สึกว่าเคยพลาดไปครั้งหนึ่งแล้ว และไม่อยากกลับไปพลาดอีก
ที่สำคัญการกลับมาครั้งนี้ เขาได้สร้างตัวอักษรสำหรับใช้ในเครื่องแมคอินทอช
จากวิชา "ศิลปะการคัดตัวหนังสือ" ที่เคยร่ำเรียนมา จนได้ฟอนต์ที่สวยที่สุดสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์
"ถ้าผมขาดเรียนวิชานั้นไปเพียงวิชาเดียวที่วิทยาลัยรีด (Reed College)
เครื่องแมคอินทอชคงจะไม่มีรูปแบบอักษรหลากหลาย และไม่มีฟอนต์ที่มีการแบ่งระยะห่าง
อย่างถูกสัดส่วนเช่นนี้" จอบส์กล่าวขึั้นในพิธีสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
เมื่อปีพ.ศ.2548
สตีฟ จอบส์ เป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิต มีทั้งเงินและชื่อเสียง
เพียงเพราะเขาค้นพบงานที่ตัวเองรัก และผลงานของเขาก็เป็นที่ประจักษ์
คนทั้งโลกใช้นวัตกรรมของเขา เขามีความสุขที่เห็นโลกเปลี่ยนแปลงไปตามวิสัยทัศน์
ที่เขาวางไว้ สิ่งที่สำคัญกว่านั้น คือ สิ่งที่เขารักมันหล่อเลี้ยงชีวิตเขาได้จริงๆ
บทพิสูจน์ที่บ่งชัดว่า เกียรติของงานไม่ได้อยู่ที่ความสูงของตึก หรือตำแหน่งหน้าที่
แต่อยู่ที่ว่าเราทำงานด้วยจิตใจสภาพแบบไหน
ต่อจากนี้ไป ไม่ว่าเราจะทำงานส่วนใด ขอแค่ทำให้ดีที่สุด เพื่อเป็นเกียรติภูมิของเรา
ไม่ว่าจะมีคนเห็นหรือไม่เห็นก็ตาม เพราะเกียรติภูมิที่แท้จริงคือ เกียรติภูมิที่ไม่ต้องรอให้คนอื่นมาเห็น
แต่เป็นเกียรติภูมิที่เกิดขึ้นอย่างงดงามในใจเรา ซึ่งเราสัมผัสได้แล้วไม่อายใครๆในโลก
ดังจะเห็นได้จากร้อยตำรวจตรีวิชัย สุริยุทธ หรือที่รู้จักกันในนาม ดาบวิชัย
นักสู้ผู้สร้างป่าให้ผืนแผ่นดินไทยกว่าสองล้านต้น
เขาเริ่มจากปลูกต้นไม้สองร้อยต้นก่อน เขาไม่เคยย่อท้อ ปลูกต่อไปเป็นห้าร้อยต้น จนครบสองล้านต้น
นี่เป็นตัวอย่างของงานเล็กๆ ที่สร้างความภาคภูมิใจให้ตัวเอง แม้ผู้อื่นจะไม่เห็นก็ตาม
พุทธทาสภิกขุ
ท่านพุทธทาสเป็นคนละเมียดละไมกับทุกเรื่อง เก็บทุกเม็ด ซึ่งได้รับการถ่ายทอดนิสัยนี้มาจากมารดาของท่านเอง แม้แต่ "ปฏิทิน" ที่ญาติโยมนำมาถวาย เมื่อดูจนหมดปีแล้ว ท่านก็ไม่ทิ้ง
ยังนำกลับมาใช้เป็นสมุดบันทึกข้อความต่างๆ จนกลายเป็นหนังสือ "บันทึกนึกได้เอง" ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีคนค้นพบงานเขียนสำคัญๆของท่านตามเศษกระดาษ ซองจดหมาย
ซองปัจจัยที่ญาติโยมนำมาทำบุญ ซึ่งสามารถรวบรวมเป็นหนังสือเล่มโตได้ถึง 3 เล่ม
ภายใต้ชื่อ "พุทธทาสลิขิต"
นอกจากนี้ใครที่เคยร่วมงานกับท่านพุทธทาสจะรู้ดีว่า ท่านเป็นคนใจกว้างเหมือนแม่น้ำ
ครั้งหนึ่งท่านกับพระลูกศิษย์รวบรวมงานจากพระไตรปิฎก โดยให้พระลูกศิษย์ช่วยแปลความออกมา เมื่อลูกศิษย์นำงานที่แปลมาส่ง ท่านอ่านแล้วรู้แน่ว่าชาวบ้านคงอ่านไม่รู้เรื่อง
จึงเรียกพระลูกศิษย์มาแก้ไข
แลกเปลี่ยนความคิดกันอยู่นาน ในที่สุดก็ได้งานชิ้นเยี่ยมในชื่อว่า "พุทธประวัติจากพระโอษฐ์"
ที่น่าสังเกตคือ ยอดคนอย่างท่านพุทธทาสนั้น เปิดโอกาสให้คนอื่นโต้แย้งได้
ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ท่านไม่เผด็จการทางวิชาการ
ซึ่งถือเป็นหลักทำงานของท่านพุทธทาส ประการที่ 2 คือ ทำงานด้วยจิตสำนึกประชาธิปไตย
ทำให้ได้ทั้งงาน ได้ทั้งคน ไม่ใช่ที่พวกที่สำเร็จทุกงาน แต่รำคาญกันทุกคน
สตีฟ จอบส์
มักได้รับการยกย่องว่า มีความสวยงามและทรงประสิทธิภาพยิ่ง
การที่เขาสามารถออกแบบนวัตกรรมให้มีความเป็นเลิศทั้งในทางรูปลักษณ์
และประโยชน์ใช้สอยได้เช่นนี้ ก็เพราะเขามีปรัชญาการทำงานอยู่ว่า
"ไม่ว่าจะทำงานอะไรก็ตาม จะต้องทำงานนั้นให้ดีที่สุด"
ปรัชญาการทำงานเช่นนี้ สตีฟ จอบส์ ได้รับการปลูกฝังมาจากพ่อของเขา
รวมทั้งจากการลองผิดลองถูกด้วยตัวเขาเองในโลกของการทำงานและการทำธุรกิจ
สุขแท้ ไร้เงื่อนไข
ทุกหนทุกแห่งที่เราไปทำงาน ความสุขนั้นจะเคลื่อนตัวไปพร้อมๆกับเรา
แล้วเราจะกลายเป็นหน่วยความสุขเคลื่อนที่ เพราะเราได้ค้นพบงานอันเป็นที่รัก
การทำงานจึงกลายเป็นการใช้ชีวิตไปโดยปริยาย ทุกวันไม่ว่าจะทำงานหรือไม่ทำงาน ก็มีความสุข
เช่นเดียวกับ สตีฟ จอบส์ (Steve Jobs) ผู้บริหารระดับสูงของแอปเปิลคอมพิวเตอร์
บุคคลชั้นนำในวงการอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ในวันที่เขาลาออกจากมหาวิทยาลัยเป็นครั้งที่สอง
เขาไม่รู้เลยว่าชีวิตหลังจากนั้นจะเกิดอะไรขึ้น
กระทั่งวันหนึ่งเขาเดินผ่านห้องห้องหนึ่งซึ่งกำลังเรียนวิชา "ศิลปะการคัดตัวหนังสือ"
หรือในปัจจุบันก็คือ "การออกแบบตัวอักษร" (Font) เขาก็ลองเข้าไปนั่งเรียน
ทั้งๆที่ทราบดีว่าวิชานี้ไม่มีการเช็กชื่อ ไม่มีการลงทะเบียน ไม่มีหน่วยกิต ไม่มีดีกรี ไม่มีประกาศนียบัตร จนกระทั่งจบคอร์ส เพื่อนคนหนึ่งก็ถามว่า
"แกเรียนอะไรมา"
สตีฟ จอบส์ ตอบ "ศิลปะการคัดตัวหนังสือ"
เพื่อนสงสัย "แกไปคัดทำไม แล้วจะไปทำมาหากินอะไร"
เขาตอบห้วนๆ "ไม่รู้"
เพื่อนถามต่อ "ได้เกรดเท่าไหร่"
"ไม่มี"
เพื่อนยิงคำถามอีก "ประกาศนียบัตรล่ะ"
"เขาไม่ออกให้" เขาตอบ
"อ้าว! แล้วเรียนไปทำไม"
คำตอบต่อคำถามนั้นก็คือ ความสุขในทุกๆครั้งที่เขาได้ไปนั่งเรียน
หลายปีต่อมา หลังจากเขาได้ก่อตั้งบริษัทแอปเปิล และพาบริษัทไปจนถึงจุดสูงสุด
เขาถูกคณะกรรมการบริษัทโหวตให้ออกจากบริษัทที่เขาก่อตั้งมากับมือ
เขาเดินลงจากตึกในสภาพฟูมฟายไม่เป็นผู้เป็นคน
หลังเตะฝุ่นอยู่พักใหญ่ เขาก็คิดขึ้นได้ว่า เขาแค่ถูกบริษัทไล่ออก
แต่บริษัทไม่ได้ไล่ความสามารถออกจากสมองเขา
จึงไม่รีรอไปจดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่ชื่อ "เน็กซ์" (NeXT)
ผลิตคอมพิวเตอร์สำหรับลูกค้าระดับบนเท่านั้น เพราะของแพงมาก
แม้จะยังขายไม่ดีนัก แต่บริษัทแอปเปิลนั้นสุดแสนประหวั่นพรั่นพรึง
เพราะรู้สึกว่าตัวเอง ปล่อยเสือเข้าป่าครั้งนี้อันตรายมาก
ในที่สุดก็ต้องเชิญเขากลับมาบริหารและควบรวมกิจการทั้งหมด
สตีฟ จอบส์ กลับเข้ามาในฐานะผู้บริหารเหมือนเดิม
งานแรกที่ทำคือ ปลดซีอีโอที่เคยไล่เขาออกจากบริษัท และพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเองใหม่
นั่งแท่นบริหารงานทั้งหมดเอง เพราะเขารู้สึกว่าเคยพลาดไปครั้งหนึ่งแล้ว และไม่อยากกลับไปพลาดอีก
ที่สำคัญการกลับมาครั้งนี้ เขาได้สร้างตัวอักษรสำหรับใช้ในเครื่องแมคอินทอช
จากวิชา "ศิลปะการคัดตัวหนังสือ" ที่เคยร่ำเรียนมา จนได้ฟอนต์ที่สวยที่สุดสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์
"ถ้าผมขาดเรียนวิชานั้นไปเพียงวิชาเดียวที่วิทยาลัยรีด (Reed College)
เครื่องแมคอินทอชคงจะไม่มีรูปแบบอักษรหลากหลาย และไม่มีฟอนต์ที่มีการแบ่งระยะห่าง
อย่างถูกสัดส่วนเช่นนี้" จอบส์กล่าวขึั้นในพิธีสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
เมื่อปีพ.ศ.2548
สตีฟ จอบส์ เป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิต มีทั้งเงินและชื่อเสียง
เพียงเพราะเขาค้นพบงานที่ตัวเองรัก และผลงานของเขาก็เป็นที่ประจักษ์
คนทั้งโลกใช้นวัตกรรมของเขา เขามีความสุขที่เห็นโลกเปลี่ยนแปลงไปตามวิสัยทัศน์
ที่เขาวางไว้ สิ่งที่สำคัญกว่านั้น คือ สิ่งที่เขารักมันหล่อเลี้ยงชีวิตเขาได้จริงๆ
1. ความเพียร
กว่าอาจารย์ถวัลย์จะเป็นมืออาชีพได้ ท่านได้วาดรูปทุกวัน จนผลงานของท่านมีราคาสูงที่สุดในประเทศไทย
2. ความพอดี
แม้ท่านพุทธทาสจะเป็นเจ้าอาวาส จะสั่งอะไรก็ได้ แต่ท่านเลือกที่จะไม่ทำ เพราะท่านคำนึงถึงหัวจิตหัวใจของคน
3. ความรู้ตน
การที่สตีฟ จอบส์ นำวิชาที่ได้เรียนมา ไปปรับใช้ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานของเขา จนเป็นที่ยอมรับ
4. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้
การที่ดาบวิชัย ได้ปลูกต้นไม้กว่าสองล้านต้นเพื่อสร้างผืนป่าให้แผ่นดินไทย
5. อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ
ในครั้งหนึ่ง ลูกศิษย์ของผู้เขียนได้เล่าว่า เธอสูญเสียลูกคนแรกและเป็นทุกข์มาก แต่เพราะได้คำสอนของหลวงพ่อ เธอจึงได้สติและกลายเป็นคนใหม่
6. พูดจริงทำจริง
สตีฟ จอบส์ มีปรัชญาการทำงานอยู่ว่า "ไม่ว่าจะทำงานอะไรก็ตาม จะต้องทำงานนั้นให้ดีที่สุด" และเขาก็สามารถออกแบบนวัตกรรมให้มีความเป็นเลิศทั้งในทางรูปลักษณ์และประโยชน์ใช้สอย
7. หนังสือเป็นออมสิน
การที่ท่านพุทธทาส นำปฏิทินที่ดูจนหมดปีแล้ว กลับมาใช้เป็นสมุดบันทึก จนกลายเป็นหนังสือ "บันทึกนึกได้เอง"
8. ความซื่อสัตย์
การที่ท่านศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต ถึงแม้จะมีโอกาสโกง แต่ท่านก็ไม่โกง
9. การเอาชนะใจตน
ถึงแม้สตีฟ จอบส์ จะโดนไล่ออกจากบริษัทที่เขาก่อตั้งมากับมือ แต่เขาก็ไม่ยอมแพ้ และไม่รีรอที่จะตั้งบริษัทใหม่ทันที
เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างมีสติครับ
ตอบลบ